เมนู

บทว่า อรหามิ วตฺตเว แปลว่า ควรกล่าว. ได้ยินว่า การเตือนของเทวดา
ก็เช่นกับคำสอนของพระสุคต. บุคคลเลวน้อมไปเลว และปฏิบัติผิด ย่อมไม่ได้
รับการเตือนนั้น. ส่วนบุคคลควรแก่มรรคผลในอัตภาพนั้น ย่อมได้การเตือน
นั้น. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า สุจิคเวสิโน คือ ผู้แสวงหาศีล
สมาธิและญาณที่สะอาด. บทว่า อพฺภามตฺตํว คือเหมือนสักว่าก้อนเมฆ
บทว่า ชานาสิ ได้แก่ รู้ว่าผู้นี้บริสุทธิ์. บทว่า วชฺชาสิ แปลว่า พึงกล่าว.
บทว่า เนว ตํ อุปชีวามิ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้คิดว่า มีเทวดาผู้หวังดี
แก่เราจักเตือนจักชี้แจงเอง ดังนี้ จึงประกอบความประมาทว่า เราจักไม่รับคำ
ของเขา เพราะฉะนั้น เทวดาจึงกล่าวอย่างนี้ . บทว่า ตฺวเมว แปลว่า ท่าน
เอง. บทว่า ชาเนยฺย แปลว่า พึงรู้. บทว่า เยน คือด้วยกรรมใด. ความ
ว่า ท่านจะพึงไปสู่สุคติ ท่านเองจะพึงรู้กรรมนั้น.
จบอรรถกถาปทุมปุปผสูตร ที่ 14
จบอรรถกถาวนสังยุต ด้วยประการฉะนี้.


รวมพระสูตรแห่งวนสังยุต มี 14 สูตร คือ


1. วิเวกสูตร 2. อุปัฏฐานสูตร 3. กัสสปโคตตสูตร 4. สัมพหุล
สูตร 5. อานันทสูตร 6. อนุรุทธสูตร 7. นาคทัตตสูตร 8. กุลฆรณีสูตร
9. วัชชีปุตตสูตร 10. สัชฌายสูตร 11. อโยนิโสมนสิการสูตร 12. มัชฌัน-
ติกสูตร 13. ปากตินทริยสูตร 14. ปทุมปุปผสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา